เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 3.โอวาทวรรค 1.โอวาทสิกขาบท อนาปัตติวาร
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ภิกษุณีสงฆ์พร้อมเพรียงกันแล้ว ภิกษุสำคัญ
ว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุสำคัญว่า
พร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์พร้อม
เพรียงกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์พร้อม
เพรียงกันแล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์พร้อม
เพรียงกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[152] 1. ภิกษุให้อุทเทส
2. ภิกษุให้ปริปุจฉา1
3. ภิกษุที่ภิกษุณีกล่าวขอว่า “นิมนต์พระคุณเจ้าสวดเถิด” สวดอยู่
4. ภิกษุถามปัญหา
5. ภิกษุถูกถามปัญหาแล้วตอบปัญหา
6. ภิกษุสั่งสอนผู้อื่นแต่มีภิกษุณีฟังอยู่ด้วย
7. ภิกษุสั่งสอนสิกขมานา
8. ภิกษุสั่งสอนสามเณรี
9. ภิกษุวิกลจริต
10. ภิกษุต้นบัญญัติ
โอวาทสิกขาบทที่ 1 จบ

เชิงอรรถ :
1 ให้อุทเทส คือ สอนพระบาลีครุธรรม 8 ให้ปริปุจฉา คือ สอนคำอธิบายพระบาลีครุธรรม 8 (วิ.อ.
2/152/331)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :325 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 3.โอวาทวรรค 2.อัตถังคตสิกขาบท นิทานวัตถุ
3. โอวาทวรรค

2. อัตถังคตสิกขาบท
ว่าด้วยการสั่งสอนภิกษุณีในเวลาที่ดวงอาทิตย์อัสดงแล้ว

เรื่องพระจูฬปันถก
[153] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุผู้เป็นเถระผลัดเปลี่ยนกัน
สั่งสอนพวกภิกษุณี
ครั้งนั้น ถึงวาระที่ท่านพระจูฬปันถกจะสั่งสอนพวกภิกษุณี พวกภิกษุณี
กล่าวกันอย่างนี้ว่า “วันนี้เห็นทีการสั่งสอนจะไม่สัมฤทธิผล ประเดี๋ยวพระคุณเจ้า
จูฬปันถกก็คงจะเปล่งอุทานซ้ำซากเหมือนเดิม” ครั้นแล้วพวกภิกษุณีได้พากันไปหา
พระจูฬปันถกถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้ไหว้ท่านพระจูฬบันถกแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ท่านพระจูฬปันถกได้กล่าวกับพวกภิกษุณีผู้นั่ง ณ ที่สมควรแล้วดังนี้ว่า
“น้องหญิงทั้งหลาย พวกเธอพร้อมเพรียงกันแล้วหรือ”
พวกภิกษุณีตอบว่า “พวกดิฉันพร้อมเพรียงกันแล้ว เจ้าข้า”
พระจูฬปันถกถามว่า “น้องหญิงทั้งหลาย ครุธรรม 8 ข้อ ยังจำกันได้อยู่หรือ”
พวกภิกษุณีตอบว่า “ยังจำกันได้อยู่ เจ้าข้า”
พระจูฬปันถกมอบหมายว่า “น้องหญิงทั้งหลาย ธรรมนี่เป็นโอวาท” แล้ว
เปล่งอุทานซ้ำว่า
“มุนีผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท ศึกษาทางแห่งความเป็นมุนี1
ผู้คงที่ สงบ มีสติทุกขณะ ย่อมเป็นผู้ไม่เศร้าโศก”2

เชิงอรรถ :
1 ทางแห่งความเป็นมุนี หมายถึงโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ หรือไตรสิกขา (วิ.อ. 2/153/332)
2 ขุ.ธ. 25/37/152, ขุ.เถร. 26/68/274

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :326 }